เกี่ยวกับ ฟลูออโรพลาสติก(เทฟลอน™)
ฟลูออโรพลาสติก (Fluoroplastics)คือชื่อเรียกทั่วไปของสารพลาสติกที่มีอะตอมฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบ
แบ่งออกได้ 9ชนิดโดยชนิดที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดีคือ พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน(Polytetrafluoroethylene: PTFE)และ เพอร์ฟลูออโรแอลคอกซี แอลเคน (Perfluoro alkoxy alkane: PFA)
ฟลูออโรพลาสติกเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษในด้านการทนความร้อน ความเรียบลื่น การไม่เกาะติด ทนต่อสารเคมี แรงเสียดทานต่ำ
และเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม (ไม่นำไฟฟ้า)
ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม และยังเป็นกุญแจสำคัญของโลกอุตสาหกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอาหาร, เคมีภัณฑ์, เซมิคอนดักเตอร์, แอลซีดี, อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และการขนส่ง เป็นต้น
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ฟลูออโรพลาสติกคือ เทฟลอน (Teflon™) แต่ในความเป็นจริงแล้ว เทฟลอน (Teflon™) คือชื่อทางการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ฟลูออ โรพลาสติกของ บริษัทเคมัวร์ (Chemours™)
Teflon™(เทฟลอน) คืออะไร
Teflon™(เทฟลอน) เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของสารฟลูออโรพลาสติกที่ผลิตโดยบริษัทเคมัวร์ (Chemours)
ซึ่งดร.รอย พลันเค็ต(Dr. Roy Plunkett) ได้ค้นพบ Teflon™(เทฟลอน) ในปี 1938 ที่บริษัทดูปองท์ สหรัฐอเมริกา
โดยในขณะนั้น ดร.พลันเค็ต กำลังค้นหาสารทำความเย็นใหม่ ๆ เขาจึงได้ทดลองเก็บก๊าซเตตระฟลูออโรเอทิลีน (Tetrafluoroethylene: TFE) ในภาชนะแรงดัน
แต่แล้วในวันหนึ่งเมื่อเขาเปิดฝาภาชนะ และไม่พบก๊าซที่เก็บไว้ เขาจึงผ่าครึ่งภาชนะดังกล่าวเพื่อตรวจดูสิ่งที่อยู่ภายใน และพบว่าผนังด้านในของภาชนะถูกปกคลุมด้วยผงสีขาว
และนั่นคือการค้นพบของสาร PTFE
ซึ่งสมุดบันทึกการทดลองของ ดร.พลันเค็ต ในวันนั้น ยังถูกเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ที่บริษัทดูปองท์
PTFE ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ทางการทหารในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และหลังจากนั้นในปี 1945 ดูปองท์ได้จดทะเบียน PTFE ในชื่อทางการค้าว่า Teflon™(เทฟลอน) จนกระทั่งปี 1946 จึงเริ่มผลิตและทำการตลาดสำหรับสินค้า Teflon™(เทฟลอน) เพื่อผู้บริโภค ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆได้มีการนำ Teflon™(เทฟลอน)มาใช้ในวงกว้างขึ้น
และในปี 2015 ได้มีการย้ายสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า Teflon™(เทฟลอน)จากดูปองท์มาเป็นของบริษัทเคมัวร์ (Chemours) มาจนถึงปัจจุบัน
และด้วยประสบการณ์รวมถึงผลงานที่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการผลิตผลิตภัณฑ์ฟลูออโรพลาสติกมามากกว่า 50 ปี ของบริษัทเรา ทำให้บริษัท Chukoh Chemical Industries, Ltd.ได้ลงนามกับทางบริษัทเคมัวร์ (Chemours)ในข้อตกลงเรื่องการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า Teflon™ สำหรับผลิตภัณฑ์เทปกาวฟลูออโรพลาสติก ( เทป Chukoh ) อย่างเป็นทางการ
Teflon™ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท The Chemours FC, LLC โดยบริษัท Chukoh Chemical industries, LTD.ใช้ภายใต้เงื่อนไขใบอนุญาต
ประเภทและชื่อของฟลูออโรพลาสติก
ฟลูออโรพลาสติกมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 ชนิด รวมถึง PTFE และ PFA ตามตารางที่แสดงด้านล่าง
ชื่อย่อ | ชื่อเรียก |
---|---|
PTFE | พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (Polytetrafluoroethylene) |
PFA | เพอร์ฟลูออโรแอลคอกซี แอลเคน (Perfluoroalkoxy alkane) |
FEP | ฟลูออริเนด เอทิลีน โพรพิลีน (Fluorinated Ethylene Propylene) |
ETFE | เอทิลีนเตตระฟลูออโรเอทิลีน (Ethylene Tetrafluoro Ethylene) |
PVDF | โพลิไวนิลลิดีน ฟลูออไรด์ (Polyvinylidene Fluoride) |
PCTFE | พอลิโคโรไตรฟลูออโรเอทิลีน (Polychlorotrifluoro Ethylene) |
ECTFE | เอทิลีนิโคโรไตรฟลูออโรเอทิลีน (Ethylene Chlorotrifluoro Ethylene) |
TFE/PDD | เตตระฟลูออโรเอทิลีน เพอร์ฟลูออโรไดเมทิเลไดออกโซล (Tetrafluoroethylene/Perfluorodimethyledioxole) |
PVF | โพลิไวนิล ฟลูออไรด์ (Polyvinyl Fluoride) |
เรซินที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายคือ PTFE และที่คนส่วนมากมักเรียกกันว่าสารTeflon™(เทฟลอน)แต่แท้จริงแล้วสารนั้นคือสาร PTFE นั่นเอง
คุณสมบัติของฟลูออโรพลาสติก
ฟลูออโรพลาสติกมีคุณสมบัติที่สำคัญ 7 ประการ คือ การทนความร้อน, ทนความเย็น ,ไม่เกาะติด, มีความเรียบลื่น, ทนสารเคมี, เป็นฉนวนไฟฟ้า และทนต่อสภาพอากาศ เนื่องจากฟลูออโรพลาสติก เป็นพลาสติกเรซินหายากที่รวมคุณสมบัติพิเศษจำนวนมากไว้ในพลาสติกตัวเดียว ทำให้ถูกขนานนามว่าเป็น “เรซิน ปราการสุดท้าย” จากผลิตภัณฑ์เรซินทั้งหมด
1.การทนความร้อน
เนื่องจาก PTFE สามารถทนความร้อนได้มากกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆโดยมีจุดหลอมเหลวที่ 380 ° C และสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องที่ 260℃ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนภายในรถยนต์และกระบวนการผลิตอาหาร ที่ไม่ต้องการให้พลาสติกเสื่อมสภาพแม้อยู่ในสภาวะที่มีความร้อนสูง
* ระดับความสามาถในการทนความร้อนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูป โปรดตรวจสอบก่อนใช้งาน
2.การทนความเย็น
เนื่องจาก PTFE สามารถทนต่อความหนาวเย็นได้ถึง -253 ° C ทำให้ถึงแม้จะผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ฟลูออโรพลาสติกแล้ว ก็ยังสามารถคงคุณสมบัติความทนทานต่อความหนาวเย็น โดยสามารถใช้ได้แม้ในอุณหภูมิที่ -100 ° C ก็ตาม
* ระดับความสามาถในการต้านทานความเย็นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูป โปรดตรวจสอบก่อนใช้งาน
3.ไม่เกาะติด (ไม่เหนียวติด) – Non-stick
ฟลูออโรพลาสติกมีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ จะไม่มีวัตถุใดๆ สามารถเกาะติดสารชนิดนี้ได้ กล่าวคือ มีคุณสมบัติในการลอกออกที่ดีเยี่ยม เพราะถึงแม้มีวัตถุมาเกาะติดสารชนิดนี้ ก็สามารถลอกออกได้ในทันที และเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ไม่เกาะติด จึงเหมาะกับกระบวนการผลิตอาหารหรืออุปกรณ์ในเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถลดขั้นตอนในการทำความสะอาดจากคุณสมบัติการไม่เกาะติดนี้อีกด้วย。
4.มีความลื่นสูง
ฟลูออโรพลาสติกมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำที่สุดในบรรดาของแข็งทั้งหมด จึงแทบจะไม่มีความต้านทานแรงเสียดทานบนพื้นผิว เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการพื้นผิวที่มีความเรียบลื่นในกระบวนการผลิตหรือการลำเลียงที่ต้องการความลื่นแต่ไม่ต้องการให้เกิดรอยขีดข่วน
5.ทนสารเคมี
เนื่องจากฟลูออโรพลาสติกจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีและตัวทำละลายเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่เกิดการเจือปนแม้สัมผัสกับกรดหรือด่างที่มีความเข้มข้น เหมาะกับการนำไปใช้ในอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์เป็นอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ฟลูออโรพลาสติกจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอุปกรณ์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ เช่น แผ่นเวเฟอร์ , ท่อ , หลอด, ภาชนะใส่สารละลายเคมี เป็นต้น
6.มีความเป็นฉนวนไฟฟ้า (ไม่นำไฟฟ้า)
ฟลูออโรพลาสติกมีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกและการสูญเสียแทนเจนต์ไดอิเล็กตริกที่ต่ำที่สุด ทำให้มีระดับการเป็นฉนวนที่สูงที่สุดในบรรดาพลาสติกทั้งหมด นอกจากนี้ความถี่และอุณหภูมิยังไม่มีผลกระทบใดๆต่อพลาสติกชนิดนี้ จึงมีการใช้ฟลูออโรพลาสติกกันอย่างแพร่หลายในงานประเภทอุปกรณ์การสื่อสารความเร็วสูงขนาดใหญ่ในย่านความถี่สูง
7.ทนต่อสภาพอากาศ (ทนต่อแดดกลางแจ้ง)
ฟลูออโรพลาสติกยังสามารถใช้งานได้ดี แม้ในสภาวะที่โดนแสงอัลตราไวโอเลต แสงที่ตามองเห็นหรือความชื้น พลาสติกหลายชนิดจะเสื่อมสภาพลงเมื่อวางไว้กลางแจ้งเป็นเวลาหลายปี แต่ฟลูออโรพลาสติกแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารเคมีหรือออกซิเจนที่อยู่ในอากาศ ทำให้พลาสติกชนิดนี้ยังคงมีความแข็งแรงและไม่เสื่อมสภาพ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 30 ปี นอกจากนี้ฟลูออโรพลาสติกยังมีคุณสมบัติในการกันน้ำ ทำให้เหมาะกับการใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุปูผนัง วัสดุปิดซีลในงานก่อสร้างต่างๆ
แผ่นเมมเบรนฟลูออโรพลาสติก SKYTOP™ จากบริษัทของเรา ได้ถูกนำไปใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (ประเทศไทย)
ประวัติของฟลูออโรพลาสติก
ปี | บริษัทผู้ผลิต | เหตุการณ์ |
---|---|---|
1937 | L.G.Farben | ค้นพบ PCTFE |
1938 | DuPont | ค้นพบ PTFE |
1940 | DuPont | เริ่มการผลิต PTFE เชิงอุตสาหกรรม |
1948 | DuPont | ค้นพบ PVDF |
1950 | DuPont | เริ่มการผลิต PVDF อย่างจริงจัง |
1954 | Daikin Industries, Ltd. | เริ่มการผลิต PCTFE เชิงอุตสาหกรรม |
1955 | Daikin Industries, Ltd. | เริ่มการผลิต PTFE เชิงอุตสาหกรรม |
1957 | 3MCompany | ได้รับอนุญาตผลิต PCTFE |
1959 | DuPont-Nittou Chemical Industries,Ltd. | เริ่มการผลิต PTFE |
1962 | Daikin Industries, Ltd. | เริ่มการผลิต FEP เชิงอุตสาหกรรม |
1965 | Penwalt | เริ่มการผลิต PVDF |
1970 | KUREHA CORPORATION | เริ่มการผลิต PVDF เชิงอุตสาหกรรม |
1972 | DuPont | เริ่มการผลิต ETFE เชิงอุตสาหกรรม |
DuPont | เริ่มการผลิต PFA เชิงอุตสาหกรรม | |
Asahi Glass Co.,Ltd. | เริ่มการผลิต ETFE เชิงอุตสาหกรรม | |
1976 | Du Pont-Mitsui Fluorochemicals Company, Ltd. | เริ่มการผลิต PFA |
1982 | Daikin Industries, Ltd. | เริ่มการผลิต PFA เชิงอุตสาหกรรม |
1983 | Asahi Glass Co.,Ltd. | เริ่มการผลิต PTFE |
1986 | Du Pont-Mitsui Fluorochemicals Company, Ltd. | เริ่มการผลิต FEP |
1987 | Asahi Glass Co.,Ltd. | เริ่มการผลิต PFA เชิงอุตสาหกรรม |
1988 | แต่ละบริษัท | เริ่มการผลิต ฟลูออโรพลาสติกแบบอ่อนนุ่ม อย่างจริงจัง |
1989 | Asahi Glass Co.,Ltd. | ขยายการผลิต สีของพอลิฟลูออโรพลาสติกให้ทนต่อสภาพอากาศ |
1994 | Du Pont-Mitsui Fluorochemicals Company, Ltd. Daikin Industries, Ltd. |
ขยายการผลิต PTFE แบบดัดแปลง |
1996 | Du Pont-Mitsui Fluorochemicals Company, Ltd. | เริ่มการผลิต PFA แบบใหม่สำหรับตลาดอุปกรณ์กึ่งตัวนำอย่างจริงจัง |
2004 | Asahi Glass Co.,Ltd. | ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลฟลูออโรพลาสติก |
2006 | KUREHA CORPORATION | ขยายการผลิต PVDF เรซิน |
คุณสมบัติของ PTFE
โครงสร้างทางโมเลกุลของ PTFE ทำให้เรซินนี้มีคุณสมบัติที่หลากหลาย
สูตรโครงสร้าง | โครงสร้างสามมิติ | |
---|---|---|
PE | ||
PTFE |
โดยเมื่อเปรียบเทียบ โครงสร้างโมเลกุลของโพลิเอทิลีน (PE) และฟลูออโรพลาสติก (PTFE) จะเห็นว่าโครงสร้างโมเลกุลของ PE ประกอบด้วยคาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) ในขณะที่ PTFE ประกอบด้วยคาร์บอน (C) และฟลูออรีน (F) และถึงแม้ว่าทั้งสองโมเลกุลมีพันธะ C-C เหมือนกัน แต่จะต่างกันในส่วนของพันธะคาร์บอนและไฮโดรเจน (C-H) และพันธะคาร์บอนและฟลูออรีน (C-F) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างพันธะ C-H กับพันธะ C-F จะพบว่าพันธะ C-F นั้นมีพลังงานยึดเหนี่ยวสูงกว่า จึงต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำลายพันธะ C-F จึงเป็นเหตุให้ PTFE มีคุณสมบัติที่ทนทานและเสื่อมสภาพยาก
คุณสมบัติที่ 1ทนความร้อน ทนไฟ (ทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน) และทนต่อสภาพอากาศ
จากพลังงานยึดเหนี่ยวสูงของคาร์บอนและฟลูออรีน (C-F) ตามที่อธิบายไว้ข้างต้น สามารถกล่าวได้อีกทางหนึ่งว่า สารชนิดนี้ “จะไม่เสื่อมสภาพง่าย เว้นแต่จะใช้พลังงานจำนวนมากในการสลายพันธะ” นอกจากนี้ อะตอมของฟลูออรีนยังมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมไฮโดรเจน ทำให้อะตอมของฟลูออรีน (F) ที่อยู่รอบพันธะ(C-C)มีการยึดติดพันธะกันแน่นและทำให้ความยาวพันธะสั้นลง จากโครงสร้างของโมเลกุลนี้ทำให้ PTFE ทนความร้อน ทนไฟ (ทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน)
พลังงานพันธะ[kJ/mol] | ความยาวพันธะ〔nm〕 | |
---|---|---|
C-H พันธะ(สำหรับCH4) | 412(CH4) | 0.110(CH4) |
C-Fพันธะ(สำหรับCF4) | 484(CF4) | 0.138(CH3F) |
คุณสมบัติที่ 2ไม่เกาะติดผิว กันน้ำและกันน้ำมัน
PTFE มีโพลาไรซ์ของพันธะ C-F เล็กพอๆกับพันธะ C-H (Polarizability คือความสามารถทำให้เกิดขั้ว หรือความง่ายในการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนเมื่อวางในสนามไฟฟ้า) เมื่อ “โพลาไรซ์มีขนาดเล็ก” นั่นหมายถึงแรงที่กระทำระหว่างโมเลกุลมีน้อย (แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลอ่อน) ดังนั้นพลังงานอิสระ (แรงตึงผิว) ของพื้นผิวจึงทำงาน และทำให้สารเกาะติดกันได้ยาก ซึ่งจากโครงสร้างของโมเลกุลดังกล่าวทำให้ PTFE มีคุณสมบัติในการไม่เกาะติดผิว กันน้ำและกันน้ำมันที่ดีเยี่ยม
ประเภทสาร | มุมสัมผัสกับน้ำ [มุม] | พลังงานในการยึดติด [dyn/cm] |
---|---|---|
PTFE | 114 | 43.1 |
ซิลิโคน | 90 ~ 110 | 47.8 ~ 72.7 |
PE | 88 | 75.2 |
คุณสมบัติที่ 3เป็นฉนวนไฟฟ้า
เนื่องจากพันธะ C-F ของ PTFE มีแรงยึดเหนี่ยวของอะตอมสูงและสามารถจำกัดอิเล็กตรอนในโมเลกุลได้อย่างแน่นหนา จึงทำให้ PTFE มีความต้านทานฉนวน (ความต้านทานเชิงปริมาตร ความต้านทานพื้นผิว) สูงและมีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ยาก
ความต้านทานไฟฟ้าเชิงปริมาตร (Ω・cm) | ความต้านทานพื้นผิว(Ω) | |
---|---|---|
PTFE | >1018 | >1016 |
PFA | >1018 | >1016 |
วิธีการขึ้นรูป PTFE
PTFE มีระดับความหนืดขณะหลอมอยู่ที่1010~12Pa・sec ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่สูงมาก ทำให้ถึงแม้ในจุดหลอม380℃ก็ไม่เกิดการไหลของสาร (ไม่มีการละลายแบบเหนียวเหนอะหนะ) ทำให้ PTFE ไม่เหมาะกับการขึ้นรูปในลักษณะสกรูหรือการฉีดขึ้นรูป แบบที่พลาสติกทั่วๆไปขึ้นรูปกัน เราสามารถแบ่ง PTFE ได้เป็น 3 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะใช้วิธีการขึ้นรูปพิเศษที่แตกต่างจากวิธีการขึ้นรูปทั่วไป
■ แบบผงขึ้นรูป หรือ Molding powder
โดยผงที่ใช้ในการขึ้นรูปจะเป็นผงขนาดประมาณ 100μmหรือน้อยกว่า
ซึ่งการขึ้นรูปลักษณะนี้จะเป็นการขึ้นรูปโดยการบีบอัด และกดเรซินให้แน่น หลังจากนั้นนำไปเผา ทำให้เหมาะกับการนำไปผลิตหรือขึ้นรูปบล็อกเช่น แผ่นหรือถัง(แทงค์)
นอกจากนี้ยังสามารถอัดเรซินให้เป็นทรงกระบอก และตัดไดคัทที่ภายนอกของกระบอกเพื่อทำเป็นลักษณะฟิล์มได้เช่นกัน
■ แบบผงละเอียด หรือFine powder
เป็นการนำผงละเอียดขนาดเล็กมาบีบอัดให้เป็นเส้นใย
เมื่อนำมาผสมกับสารละลาย และทำการอัดขึ้นรูป ด้วยวิธี paste extrusion
จะสามารถขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท่อ , เทปพันเกลียวได้
■ แบบดิสเพอร์ชั่นหรือการกระจายตัว (dispersion)
เป็นการอิมัลชั่น(emulsion) หรือการทำให้ของเหลว 2 ชนิดสามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียวกันได้ โดยผ่านกลไกดิสเพอร์ชั่นคือการทำให้สารแตกตัวหรือกระจายตัวในน้ำด้วยสารลดแรงตึงผิว เพื่อให้สารมีความเสถียร เช่น การเคลือบผ้าด้วยการจุ่มน้ำยาดิสเพอร์ชั่น ผ่านกระบวนการทำให้แห้งและนำไปอบ เป็นต้น สำหรับบริษัทจูโค เรามีผลิตภัณฑ์ Skytop™ วัสดุเมมเบรนผ้าใบมุงหลังคา ที่ใช้วิธีเคลือบPTFEลงบนผ้าใยแก้ว เช่นกัน
ประเภทของเรซิน | วิธีการขึ้นรูป | ผลิตภัณฑ์ที่นำมาผลิต |
---|---|---|
ผงขึ้นรูป | วิธีการอัดรีดขึ้นรูป/ ram extrusion | |
ผงละเอียด | วิธีการPaste extrusion / วิธีการอัดรีดขึ้นรูป | |
ดิสเพอร์ชั่น | วิธีการเคลือบ |
ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปฟลูออโรพลาสติก นอกเหนือจาก PTFE
สำหรับฟลูออโรเรซินที่ไม่ใช่ PTFE เช่น PFA.ETFE จะมีระดับความหนืดอยู่ที่ประมาณ 103~4Pa・sec
จึงสามารถใช้วิธีการขึ้นรูปในลักษณะเดียวกับเทอร์โมพลาสติกทั่วไป อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากฟลูออโรเรซินที่หลอมเหลวแล้วสามารถกัดกร่อนโลหะที่สัมผัสกับฟลูออโรเรซินได้ จึงจำเป็นต้องใช้วัสดุโลหะที่ทนต่อการกัดกร่อนในกระบวนการขึ้นรูป
[อ้างอิง]
・JFIA [Fluorine resin Handbook]